วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555

ปลาคิลลี่


ถิ่นกำเนิด พบมากในเขตร้อนตลอดแนวเส้นศูนย์สูตร ยกเว้น ออสเตรเลีย และภูมิภาคขั้วโลกเหนือ พบมากในอาฟริกาและอเมริกาใต้ ปัจจุบันมีความหลากหลายทางพันธุกรรมมากกว่า 350 ชนิด
การจำแนกสายพันธ์ แบ่งตามลักษณะการขยายพันธุ์เป็น 2 กลุ่มใหญ่ดังนี้
1 กลุ่มทั่วไป(Non-Annual killi-fish) ยังเเยกเป็น 2 กลุ่มย่อยได้อีก คือ
1.1 Plant Spawner วางไข่กับพืชน้ำ
1.2 Switch Spawner วางไข่กับพืชน้ำ เเละฝังในดิน
เนื่องจากปลากลุ่มนี้ ผู้เขียนไม่มีประสบการณ์ จึงไม่ขอกล่าวถึง
2 กลุ่มฤดูกาล(Annual killi fish) มีลักษณะลำตัวสั้นกว้าง สีเข้มสลับลาย ตลอดลำตัว หางกลมมน พบตามธรรมชาติ ในเเหล่งน้ำนิ่งทั่วไป ลักษณะวางไข่ จะวางในดินโคลน ช่วงฤดูเเล้ง น้ำใกล้เเห้งขอด ของทุกปี กลไกธรรมชาติทำให้ใข่เเต่ละฟองมีการพัฒนาเจริญเติบโต ตามระยะเวลาที่เเตกต่างกัน ใข่บางฟองเร็ว บางฟองช้าขึ้นอยู่กับอุณหภูมิลำดับการเจริญเติบโต ของปลาคิลลี่ กลุ่มฤดูกาล เรี่มตั้งแต่พ่อ –แม่ ผสมพันธุ์ใข่ลงในดินทุกวันปริมาณของใข่จะสะสม จนถึงฤดูร้อน น้ำในแหล่งน้ำจะแห้งขอด ใข่ปลาคิลลี่ที่ฝังอยู่ในดิน ก็จะเรี่มพัฒนากลายเป็นตัวอ่อน ม้วนอยู่ในฟองใข่ เพื่อรอน้ำฝนในฤดูฝนใหม่ เมื่อฝนตกลงมาให้ปริมาณมากจนน้ำท่วมขัง เพียงใม่นานปลาคิลลี่ ก็พัฒนาการ ออกจากใข่ปลา ว่ายน้ำ หาอาหารตามธรรมชาติ เตีบโต จนเป็นวัยเจรีญพันธุ์ ให้ทันฤดูร้อนใหม่ ที่จะมาเยือนสายพันธุ์ ที่น่าสนใจในกลุ่มนี้ใด้แก่ Nothobranchius , Simsonichthys, Cynolebias ,Austrolebius
ชื่อวิทยาศาสตร์ และ การกำหนดรหัสพันธุ์กรรม เป็นเรื่องที่สำคัญของการเพาะเลี้ยงคิลลี่ ของนักเพาะเลี้ยง คิลลี่ ทั่วโลก เพราะการเลี้ยงจะเป็นลักษณะสะสมสายพันธุ์ แท้ เพื่อประโยชน์ในการสื่อสารอย่างถูกต้อง มีหลักการณ์อ่านดังนี้ เช่น
ชื่อวิทยาศาสตร์ Nothobranchius guentheri Red (Guentheri Zanzibar Tan 97/2)
ใด้แก่ ชื่อตระกูล Nothobranchius
ชื่อสายพันธุ์ guentheri
ถิ่นที่อยู่ Zanzibar
ประเทศ Tanzanja
ปีที่ค้นพบ 1997 , แหล่งค้นพบที่ 2
มีข้อเสนอที่สำคัญสำหรับนักเพาะเลี้ยงคิลลี่ประเทศไทย ต้องใม่ผสมข้ามพันธุ์โดยเด็ดขาด เพราะจะมีผลอย่างมากต่อนักเพาะเลี้ยงทั่วไป จะเกิดผลเสียหายทั้งทางชื่อเสียง และตลาดปลาคิลลี่ทั่วประเทศไทย และต่อโลกในกรณีส่งออกไปต่างประเทศ
การเลี้ยงปลาคิลลี่ 
1. สถานที่เลี้ยง ปกติใช้ตู้ปลาขนาด 10-12 นี้ว ก็พอสำหรับการเลี้ยงและผสมพันธ์ จัดองค์ประกอบในตู้ปลาให้สวยงามใก้ลเคียงธรรมชาติ ตู้ควรมีฝาปิดให้มิดชิด หรือระดับน้ำต่ำกว่าขอบตู้มากหน่อย ป้องกันปลาคิลลี่ กระโดดออก
ปัมพ์ลมหรือที่เรียกว่า ออกซิเจ น ผู้เขียนเคยเลี้ยงโดยใม่ใช้ก็สามารถอยู่ใด้ แต่อย่างใรก็ดี การเพิ่ มออกซิเจนน่าจะดีกว่า นักเพาะพันธุ์คิลลี่บางรายสามารถใช้ทุกที่ในบ้าน ,ทุกอย่างที่ใส่น้ำใด้ เป็นที่เลี้ยงและเพาะพันธุ์ เช่นที่ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งมีข้อจำกัดทางสถานที่อยู่แล้ว นับเป็นข้อใด้เปรียบอันหนึ่งของปลา คิลลี่
2.น้ำที่ใช้ คิลลี่ชอบอาศัยน้ำที่เป็น กรดอ่อน ๆ ph อยู่ที่ 5.5-6.5 มีนักเลี้ยงบางท่าน ใช้เติม
พีทมอส ที่ใช้เพาะปลาลงใปด้วย เพื่อปรับสภาพน้ำ แต่การเปลี่ยนน้ำทุกครั้งควรใส่เกลือ ลงใปด้วยประมาณ 1 ช้อนชา ต่อน้ำ 1แกลลอน การถ่ายน้ำใม่ควรเกีน 30% ของการถ่ายแต่ละครั้ง
3.อาหารที่ใช้เลี้ยง ปลาคิลลื่ ใด้ทั้ง อาหาร สด เช่นหนอนจิ๋ว ลูกน้ำ ไรแดง ไรทะเล หนอนแดง
อาหารสำเร็จรูปที่มีขนาดเล็ก
การเพาะพันธ์ปลาคิลลี่ ( ปลาคิลลี่ กลุ่ม ฤดูกาล)

ภาชนะที่ใช้เพาะพันธุ์ บางท่านใช้วิธีจัดให้สภาพ ใก้ลเคียงกับธรรมชาติ แต่ผู้เขียนใช้วิธี ใม่ใส่อะใรเลย นอกจาก ภาชนะปากแคบใส่พีทมอส ให้ปลาวางใข่ (ใม่ให้พีทมอสฟุ้งกระจายเมื่อปลาวางใข่)
พ่อแม่ปลาใช้ในอัตรา ตัวผู้ 1 ตัว : ตัวเมีย 2-3 ตัว ควรมีอายุมากกว่า 6 อาทิตย์ มีลักษณะร่างกายใด้สัดส่วน สีเด่นชัด สมบูรณ์ ตรงตามพันธุ์ ส่วนตัวเมียจะใม่มีสี
พ่อแม่ปลาจะวางใข่ทุกวัน ในภาชนะที่จัดไว้ ประมาณ 1-2 อาทิตย์ นำใข่ปลาพร้อม พีทมอสไปทำให้แห้งพอประมาณ โดยซับกับกระดาษหนังสือพิมพ์ บรรจุในภาขนะ หรือถุงพลาสติก
เขียนชื่อ วันที่เก็บ (collect) ใว้ในสภาพอุณหภูมิ สม่ำเสมอโดยมากเก็บใว้ในกล่องโฟม ที่อุฌหภูมิห้อง รอเวลาที่จะนำไปฟักตามชนิดพันธุ์ (Incubation period ) ส่วนใหญ่ จะอยู่ที่ 4- 10 อาทิตย์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น