วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2555



ปลาหมูอารีย์ เป็นปลาน้ำจืดที่มีขนาดเล็ก จัดอยู่ในวงศ์ปลาหมู ปลาค้อ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Yasuhikotakia sidthimunki ในวงศ์ปลาหมู (Cobitidae) มีลักษณะ รูปร่างค่อนข้างยาวและแบนข้าง มีสีสันสดใสมาก โดยมีสีเหลืองมะปรางสุก บริเวณส่วนหัว แนวกลางของหลังและลำตัว ส่วนท้องมีสีขาวงาช้าง บริเวณหัวมีแถบ สีน้ำตาลดำ 2 แถบ ขนานกันไปตามแถบสีเหลืองบริเวณหลัง แถบนี้จะไปสิ้นสุดบริเวณคอดหาง และยังมีแถบสีน้ำตาลดำ ที่มีจุดเริ่มต้นตั้งแต่ส่วนปากผ่านแนวลูกตาตามเส้นข้างตัวไปจนถึง จุดเริ่มต้นของครีบหาง 

        ปลาหมูอารีย์ เป็นปลาสวยงามที่นักเลี้ยงปลาสวยงาม นิยมเลี้ยงมาก และยังเป็นปลาที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นปลาหมูชนิดที่มีสีสันสวยงามมากที่สุด พบถิ่นอาศัยอยู่บริเวณพื้นท้องน้ำที่มีพืชน้ำ หาดน้ำตื้น ซึ่งมีกระแสน้ำเชี่ยว น้ำถ่ายเทอยู่ตลอดเวลา คุณสมบัติของน้ำดี จากรายงานพบว่า ปลาหมูอารีย์ เคยพบชุกชุมที่แม่น้ำแม่กลอง แควน้อย จังหวัดราชบุรีและกาญจนบุรี บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ และลำน้ำสาขาของแม่น้ำโขง ที่เมืองปากเซ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว



วันอาทิตย์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2555

ปลาเสือพ่นน้ำ


ปลาเสือพ่นน้ำ เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาเสือพ่นน้ำ (Toxotidae) มีรูปร่างเป็นสามเหลี่ยม ปากกว้างมีขนาดใหญ่เฉียงลงด้านล่างและจะงอยปากยืดหดได้ มีตากลมโต เกล็ดสาก ครีบหลังแบ่งออกเป็น 2 ตอน ตอนแรกเป็นครีบแข็ง ตอนหลังเป็นครีบอ่อนมีลักษณะใสโปร่งแสง พื้นลำตัวสีขาวอมเหลือง มีจุดวงกลมสีดำขนาดใหญ่ ประมาณ 3-4 จุด ซึ่งนับว่าปลาเสือพ่นน้ำสายพันธุ์นี้เป็นปลาเสือพ่นน้ำสายพันธุ์ที่มีจุดวงกลมนี้มากที่สุด และเป็นปลาเสือพ่นน้ำสายพันธุ์ที่พบได้มากและแพร่หลายที่สุด
ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 30-40 เซนติเมตร นิยมว่ายหากินอยู่ตามผิวน้ำเป็นฝูงเล็ก ๆ ไม่เกิน 20 ตัว พบได้ตามแม่น้ำลำคลองทั่วไปจนถึงเขตน้ำกร่อยเช่น ป่าชายเลน ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมถึงประเทศไทยด้วย สามารถฉีดพ่นน้ำจากปากใส่แมลงที่อยู่เหนือน้ำได้เหมือนปืนฉีดน้ำ นอกจากนี้แล้วยังกินสัตว์ขนาดเล็กกว่า เช่น ปลาขนาดเล็ก กุ้งฝอย เป็นต้น
มีความสำคัญต่อมนุษย์ในฐานะของการนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม

วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2555

ปลาพาราไดซ์


ปลาพาราไดซ์ (อังกฤษParadise fish, Paradise gourami) ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Macropodus opercularis อยู่ในวงศ์ปลากัด ปลากระดี่ (Osphronemidae) จึงมีอวัยวะช่วยหายใจพิเศษที่เรียกว่า เรียกว่า labyrinth เหมือนเช่นปลาชนิดอื่น ๆ ในวงศ์เดียวกัน ทำให้สามารถขึ้นมาฮุบอากาศที่ผิวน้ำได้โดยตรง และสามารถอยู่ในบริเวณที่มีออกซิเจนต่ำได้ โดยไม่ต้องรอให้ออกซิเจนละลายลงในน้ำก่อนเช่นปลาทั่วไป
มีขนาดความยาวลำตัว ประมาณ 7.5 เซนติเมตร มีลำตัวค่อนข้างกว้าง แบนข้าง หัวเล็ก นัยน์ตาโต ปากอยู่หน้าสุด ริมฝีปากยืดหดได้ มีฟันบนกระดูกเพดานปาก เส้นข้างตัวไม่สมบูรณ์ มีลักษณะเด่นอยู่ที่ครีบหลัง ครีบหลัง ครีบท้อง และครีบก้น มีปลายที่ยื่นยาวเป็นเส้นสวยงาม ครีบท้องและครีบหางเป็นสีส้มแดงครีบหลังมีก้านครีบแขนงไม่เกิน 10 ก้าน ครีบหลังและครีบก้นมีขนาดใกล้เคียงกัน ครีบอกบางใส ครีบท้องมีก้านครีบเดี่ยว อันแรกยื่นออกมาเป็นเส้นยาว ครีบหางมีปลายครีบตัดตรง สีพื้นลำตัวเป็นสีเขียวมีลายสีส้มขวางลำตัวจำนวน 9 แถบ ตัวผู้จะมีสีสันสวยสดกว่าตัวเมีย
เป็นปลาที่มีถิ่นกำเนิดในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เช่น ไต้หวันจีนฮ่องกงเกาหลีเหนือเกาหลีใต้และตอนเหนือของเวียดนาม โดยอาศัยอยู่ตามหนองบึง นาข้าว เหมือนกับปลากัดหรือปลากระดี่โดยตัวผู้จะมีการก่อหวอด กินอาหารจำพวก ลูกน้ำลูกไร หรือสัตว์น้ำขนาดเล็ก มีการผสมพันธุ์และดูแลไข่เหมือนปลาในวงศ์นี้ชนิดอื่น ๆ
ปลาพาราไดซ์ มีนิสัยค่อนข้างก้าวร้าว แต่สามารถเลี้ยงรวมกันเป็นฝูงได้ นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามโดยมีการเพาะขยายพันธุ์จนมีสีสันต่าง ๆ ที่แปลกออกไปจากชนิดที่มีอยู่ในธรรมชาติ เช่น สีเผือกทั้งตัว หรือ สีเขียว เป็นต้น
ปลาพาราไดซ์มีชื่อว่า  Macropodus  opercularis มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศจีนทางตะวันออกเฉียงใต้  ไต้หวัน  เกาหลี  ลำตัวมีขนาดเล็ก  และมีอวัยวะช่วยหายใจ  ที่เรียกว่า Labyrinth  organ  เหมือนกับในปลากัด  ทำให้สามารถขึ้นมาฮุบอากาศที่ผิวน้ำได้โดยตรง  และสามารถอยู่ในบริเวณที่มีออกซิเจนต่ำได้  ดังนั้นเราจึงสามรถเลี้ยงในภาชนะขนาดเล็กเหมือนปลากัดได้  ไม่จำเป็นต้องให้อากาศเพิ่มเติมได้  แต่ถ้าใส่หัวทรายลงไปด้วยก็จะยิ่งดี  อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำนิ่ง  หนองบึง  และในนาข้าว  เป็นปลาที่รักความสงบ  ว่ายน้ำเชื่องช้า  และชอบพรรณไม้น้ำ  กินอาหารประเภทตัวอ่อนของแมลงและอาหารมีชีวิตขนาดเล็ก  มีขนาดลำตัวเล็กคือ ประมาณ 7.5 cm  ลักษณะโดยทั่วไปก็คล้ายกับปลากระดี่ดังนี้คือ เป็นปลาที่มีลำตัวค่อนข้างกว้าง  แบนข้าง  หัวเล็ก  นัยน์ตาโต  ปากอยู่หน้าสุด  ริมฝีปากยืดหดได้  มีฟันบนกระดูกเพดานปาก  เส้นข้างตัวไม่สมบูรณ์  มีลักษณะเด่นอยู่ที่ครีบหลัง  ครีบหลัง  ครีบท้อง  และครีบก้น  มีปลายที่ยื่นยาวเป็นเส้นสวยงาม  ครีบท้องและครีบหางเป็นสีส้มแดง  ครีบหลังมีก้านครีบแขนงไม่เกิน 10 ก้าน  ครีบหลังและครีบก้นมีขนาดใกล้เคียงกัน  ครีบอกบางใส  ครีบท้องมีก้านครีบเดี่ยว  อันแรกยื่นออกมาเป็นเส้นยาว ครีบหางมีปลายครีบตัดตรง  สีพื้นลำตัวเป็นสีเขียวมีลายสีส้มขวางลำตัวจำนวน 9 แถบ  ปลาเพศผู้จะมีสีสันสวยสดกว่าตัวเมีย  นอกจากนี้ยังมีปลาพาราไดซ์เผือกที่มีสีสันลำตัวเป็นสีส้มสดตัดกับลำตัวสีขาว  ซึ่งมีความสวยงามและได้รับความนิยมพอๆกับปลาพาราไดซ์ธรรมดา
               การเพาะพันธุ์นั้นทำได้ไม่ยาก  ถ้าหากว่าใครเคยเพาะพันธุ์ปลากัดมาแล้วล่ะก็…หายห่วงเพราะวิธีการเป็นแบบเดียวกัน  ก่อนที่จะทำการเพาะพันธุ์ ต้องทำการขุนปลาด้วยอาหารสด  เช่น  ไรแดง  หนอนแดง  ให้ปลามีความสมบูรณ์ก่อนประมาณ 1-2 สัปดาห์  ซึ่งสามารถทำได้ช่วงไหนก็ได้  เพราะว่า  ปลาพาราไดซ์นั้นสามารถเพาะพันธุ์ได้ตลอดทั้งปี  หลังจากนั้นทำการอดอาหารปลา 1 วันก่อนทำการคัดปลา  การคัดปลาต้องเลือกเพศผู้และเพศเมียที่มีความพร้อมโดยเพศผู้คัดตัวที่มีความสมบูรณ์  โดยดูจากครีบที่ไม่พิการ  และเป็นเส้นยาว  สีลำตัวเป็นสีสดเห็นชัดเจน  และเลือกให้มีขนาดใหญ่กว่าแม่ปลาเล็กน้อย  ส่วนปลาเพศเมียต้องเลือกที่ท้องเต่งๆ  ดูลักษณะโดยรวมแล้วต้องสมส่วนและสมบูรณ์  ในการเพาะพันธุ์นั้นจะใช้อัตราส่วนปลาเพศผู้และเพศเมีย 1:1 เมื่อคัดได้แล้ว  นำมาใส่ตู้เพาะพันธุ์ที่เตรียมไว้  ภาชนะอาจมีขนาดให้พอดีกับตัวปลา  ขนาดปานกลาง  มีพื้นที่สำหรับปลาว่ายน้ำบ้าง  อาจใช้ตู้กระจกหรือกะละมัง  ภาชนะจะต้องโล่ง  ไม่ต้องให้อากาศ  หาอะไรมาปิดไว้กันปลากระโดด  จัดที่เพาะพันธุ์ให้อยู่ในที่โล่ง  อากาศถ่ายเทและไม่มีสิ่งรบกวน  ปลาจะก่อหวอดเหมือนกับปลากัด  ขณะเพาะพันธุ์ต้องไม่เข้าไปรบกวนปลาบ่อยเกินไปเพราะจะทำให้ปลาตกใจและกินไข่ตัวเอง  ไข่จะมีสีส้มขนาดเล็ก  จากนั้นเมื่อปลาไข่แล้วให้ตักตัวเมียออก  เนื่องจากปลาในกลุ่มปลากระดี่นี้ปลาเพศผู้จะทำหน้าที่ดูแลไข่ปลา  ประมาณ 2-3 วัน  ลูกปลาจะฟักออกจากไข่  โดยลูกปลาที่ได้นี้ให้ทำการแยกออกมาอนุบาลในตู้ต่างหาก  ให้กินอาหารจำพวกโรติเฟอร์ในช่วง 1-7 วันแรก  เนื่องจากลูกปลามีขนาดเล็กมาก  แล้วจึงเปลี่ยนอาหารเมื่อปลามีขนาดโตขึ้น
               ปลาพาราไดซ์สามารถเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่นๆได้  เนื่องจากเป็นปลาที่มีนิสัยรักสงบ  ไม่ก้าวร้าว  นิยมเลี้ยงในตู้ที่มีพรรณไม้น้ำ  เป็นปลาที่เลี้ยงง่ายโตเร็ว  ใช้เวลาเพียง 2 เดือนก็สามารถจับขายได้ 
              ในด้านตลาดนั้นบ้านเรายังไม่คึกคักเท่ากับปลาในกลุ่มปลาทองหรือหางนกยูง  แต่ก็มีผู้เลี้ยงบางกลุ่มที่ให้ความสนใจอยู่พอสมควร  หากว่าต้องการผลิตเพื่อหารายได้แล้วก็ไม่ควรทำปลาเพียงชนิดเดียว  ควรทำร่วมกับปลาในกลุ่มเดียวกันเพื่อให้มีความหลากหลาย  เช่น  ปลากระดี่แคระ  กระดี่ทอง  กระดี่มุก  เนื่องจากวิธีการเพาะพันธุ์และอนุบาลไม่แตกต่างกันมากนัก  และยังใช้พื้นที่ไม่มาก  นอกจากนี้ตลาดในต่างประเทศก็จัดว่าอยู่ในระดับกลาง  ซึ่งมีการส่งออกอยู่เรื่อยๆ เพียงแต่ปริมาณไม่มาก  ดังนั้นจึงสามารถผลิตปลาชนิดนี้เพื่อส่งออกควบคู่ไปกับการขายในบ้านเราไปพร้อมๆกันได้
PET-MAG  นิตยสารสัตว์เลี้ยงปีที่ 6  ฉบับที่ 71  เดือนพฤษภาคม  พ.ศ. 2548

วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555

ปลาคิลลี่


ถิ่นกำเนิด พบมากในเขตร้อนตลอดแนวเส้นศูนย์สูตร ยกเว้น ออสเตรเลีย และภูมิภาคขั้วโลกเหนือ พบมากในอาฟริกาและอเมริกาใต้ ปัจจุบันมีความหลากหลายทางพันธุกรรมมากกว่า 350 ชนิด
การจำแนกสายพันธ์ แบ่งตามลักษณะการขยายพันธุ์เป็น 2 กลุ่มใหญ่ดังนี้
1 กลุ่มทั่วไป(Non-Annual killi-fish) ยังเเยกเป็น 2 กลุ่มย่อยได้อีก คือ
1.1 Plant Spawner วางไข่กับพืชน้ำ
1.2 Switch Spawner วางไข่กับพืชน้ำ เเละฝังในดิน
เนื่องจากปลากลุ่มนี้ ผู้เขียนไม่มีประสบการณ์ จึงไม่ขอกล่าวถึง
2 กลุ่มฤดูกาล(Annual killi fish) มีลักษณะลำตัวสั้นกว้าง สีเข้มสลับลาย ตลอดลำตัว หางกลมมน พบตามธรรมชาติ ในเเหล่งน้ำนิ่งทั่วไป ลักษณะวางไข่ จะวางในดินโคลน ช่วงฤดูเเล้ง น้ำใกล้เเห้งขอด ของทุกปี กลไกธรรมชาติทำให้ใข่เเต่ละฟองมีการพัฒนาเจริญเติบโต ตามระยะเวลาที่เเตกต่างกัน ใข่บางฟองเร็ว บางฟองช้าขึ้นอยู่กับอุณหภูมิลำดับการเจริญเติบโต ของปลาคิลลี่ กลุ่มฤดูกาล เรี่มตั้งแต่พ่อ –แม่ ผสมพันธุ์ใข่ลงในดินทุกวันปริมาณของใข่จะสะสม จนถึงฤดูร้อน น้ำในแหล่งน้ำจะแห้งขอด ใข่ปลาคิลลี่ที่ฝังอยู่ในดิน ก็จะเรี่มพัฒนากลายเป็นตัวอ่อน ม้วนอยู่ในฟองใข่ เพื่อรอน้ำฝนในฤดูฝนใหม่ เมื่อฝนตกลงมาให้ปริมาณมากจนน้ำท่วมขัง เพียงใม่นานปลาคิลลี่ ก็พัฒนาการ ออกจากใข่ปลา ว่ายน้ำ หาอาหารตามธรรมชาติ เตีบโต จนเป็นวัยเจรีญพันธุ์ ให้ทันฤดูร้อนใหม่ ที่จะมาเยือนสายพันธุ์ ที่น่าสนใจในกลุ่มนี้ใด้แก่ Nothobranchius , Simsonichthys, Cynolebias ,Austrolebius
ชื่อวิทยาศาสตร์ และ การกำหนดรหัสพันธุ์กรรม เป็นเรื่องที่สำคัญของการเพาะเลี้ยงคิลลี่ ของนักเพาะเลี้ยง คิลลี่ ทั่วโลก เพราะการเลี้ยงจะเป็นลักษณะสะสมสายพันธุ์ แท้ เพื่อประโยชน์ในการสื่อสารอย่างถูกต้อง มีหลักการณ์อ่านดังนี้ เช่น
ชื่อวิทยาศาสตร์ Nothobranchius guentheri Red (Guentheri Zanzibar Tan 97/2)
ใด้แก่ ชื่อตระกูล Nothobranchius
ชื่อสายพันธุ์ guentheri
ถิ่นที่อยู่ Zanzibar
ประเทศ Tanzanja
ปีที่ค้นพบ 1997 , แหล่งค้นพบที่ 2
มีข้อเสนอที่สำคัญสำหรับนักเพาะเลี้ยงคิลลี่ประเทศไทย ต้องใม่ผสมข้ามพันธุ์โดยเด็ดขาด เพราะจะมีผลอย่างมากต่อนักเพาะเลี้ยงทั่วไป จะเกิดผลเสียหายทั้งทางชื่อเสียง และตลาดปลาคิลลี่ทั่วประเทศไทย และต่อโลกในกรณีส่งออกไปต่างประเทศ
การเลี้ยงปลาคิลลี่ 
1. สถานที่เลี้ยง ปกติใช้ตู้ปลาขนาด 10-12 นี้ว ก็พอสำหรับการเลี้ยงและผสมพันธ์ จัดองค์ประกอบในตู้ปลาให้สวยงามใก้ลเคียงธรรมชาติ ตู้ควรมีฝาปิดให้มิดชิด หรือระดับน้ำต่ำกว่าขอบตู้มากหน่อย ป้องกันปลาคิลลี่ กระโดดออก
ปัมพ์ลมหรือที่เรียกว่า ออกซิเจ น ผู้เขียนเคยเลี้ยงโดยใม่ใช้ก็สามารถอยู่ใด้ แต่อย่างใรก็ดี การเพิ่ มออกซิเจนน่าจะดีกว่า นักเพาะพันธุ์คิลลี่บางรายสามารถใช้ทุกที่ในบ้าน ,ทุกอย่างที่ใส่น้ำใด้ เป็นที่เลี้ยงและเพาะพันธุ์ เช่นที่ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งมีข้อจำกัดทางสถานที่อยู่แล้ว นับเป็นข้อใด้เปรียบอันหนึ่งของปลา คิลลี่
2.น้ำที่ใช้ คิลลี่ชอบอาศัยน้ำที่เป็น กรดอ่อน ๆ ph อยู่ที่ 5.5-6.5 มีนักเลี้ยงบางท่าน ใช้เติม
พีทมอส ที่ใช้เพาะปลาลงใปด้วย เพื่อปรับสภาพน้ำ แต่การเปลี่ยนน้ำทุกครั้งควรใส่เกลือ ลงใปด้วยประมาณ 1 ช้อนชา ต่อน้ำ 1แกลลอน การถ่ายน้ำใม่ควรเกีน 30% ของการถ่ายแต่ละครั้ง
3.อาหารที่ใช้เลี้ยง ปลาคิลลื่ ใด้ทั้ง อาหาร สด เช่นหนอนจิ๋ว ลูกน้ำ ไรแดง ไรทะเล หนอนแดง
อาหารสำเร็จรูปที่มีขนาดเล็ก
การเพาะพันธ์ปลาคิลลี่ ( ปลาคิลลี่ กลุ่ม ฤดูกาล)

ภาชนะที่ใช้เพาะพันธุ์ บางท่านใช้วิธีจัดให้สภาพ ใก้ลเคียงกับธรรมชาติ แต่ผู้เขียนใช้วิธี ใม่ใส่อะใรเลย นอกจาก ภาชนะปากแคบใส่พีทมอส ให้ปลาวางใข่ (ใม่ให้พีทมอสฟุ้งกระจายเมื่อปลาวางใข่)
พ่อแม่ปลาใช้ในอัตรา ตัวผู้ 1 ตัว : ตัวเมีย 2-3 ตัว ควรมีอายุมากกว่า 6 อาทิตย์ มีลักษณะร่างกายใด้สัดส่วน สีเด่นชัด สมบูรณ์ ตรงตามพันธุ์ ส่วนตัวเมียจะใม่มีสี
พ่อแม่ปลาจะวางใข่ทุกวัน ในภาชนะที่จัดไว้ ประมาณ 1-2 อาทิตย์ นำใข่ปลาพร้อม พีทมอสไปทำให้แห้งพอประมาณ โดยซับกับกระดาษหนังสือพิมพ์ บรรจุในภาขนะ หรือถุงพลาสติก
เขียนชื่อ วันที่เก็บ (collect) ใว้ในสภาพอุณหภูมิ สม่ำเสมอโดยมากเก็บใว้ในกล่องโฟม ที่อุฌหภูมิห้อง รอเวลาที่จะนำไปฟักตามชนิดพันธุ์ (Incubation period ) ส่วนใหญ่ จะอยู่ที่ 4- 10 อาทิตย์

วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2555

ปลาเข็ม


ปลาเข็ม (อังกฤษWrestling Halfbeak, Malayan halfbeak, Pygmy halfbeak) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dermogenys pusilla ในวงศ์ปลาเข็ม(Hemiramphidae)
มีรูปร่างเรียวยาว ริมฝีปากล่างคือส่วนที่ยื่นยาวออกมาเหมือนปลายเข็ม อันเป็นที่มาของชื่อ ส่วนริมฝีปากบนมีขนาดเล็กเป็นรูปสามเหลี่ยมใช้สำหรับจับเหยื่อและต่อสู้ป้องกันตัวระหว่างปลาพวกกันเดียวเอง โดยมักจะพุ่งแทงกัน
มีครีบอกขนาดใหญ่และแข็งแรง ทำให้สามารถกระโดดจับแมลงที่อยู่เหนือผิวน้ำเป็นอาหารได้ นอกจากนี้แล้วยังมีสายตาที่แหลมคม สามารถมองเห็นวัตถุที่เหนือน้ำได้ดีกว่าปลาชนิดอื่น ๆ นิยมอยู่กันเป็นฝูง ๆ ประมาณ 8-10 ตัว โดยมีตัวผู้เป็นจ่าฝูงเพียงตัวเดียว ปลาตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้อย่างเห็นได้ชัด เป็นปลาที่ออกลูกเป็นตัว ครั้งละไม่เกิน 30 ตัว
เป็นปลาขนาดเล็ก ความยาวเต็มที่ประมาณ 8 เซนติเมตร พบได้ตามแหล่งน้ำนิ่งเช่น ท้องร่วงสวนผลไม้ทั่วประเทศไทย ในต่างประเทศพบได้ตั้งแต่บังกลาเทศจนถึงคาบสมุทรมลายูและอินโดนีเซีย
ปลาเข็มชนิดนี้ คนไทยนิยมเพาะเลี้ยงกันมานานแล้วเพื่อใช้สำหรับต่อสู้กันเพื่อการพนัน คล้ายกับปลากัด โดยจะเพาะเลี้ยงกันในหม้อดินจึงเรียกกันว่า "ปลาเข็มหม้อ" โดยจะมีรูปร่างและขนาดที่ใหญ่กว่าปลาที่พบในธรรมชาติ สำหรับปลาที่ออกสีขาวจะเรียกว่า "ปลาเข็มเผือก" หรือ "ปลาเข็มเงิน" และปลาที่มีสีออกสีทองจะเรียกว่า "ปลาเข็มทอง

วันจันทร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2555

ปลาปอมปาดัวร์

ปลาปอมปาดัวร์ (Pompadour) หรือที่เรียกกันว่า Discus (ซึ่งหมายถึงทรงกลม อันมาจากลักษณะของรูปร่างปลานั่นเอง) ปอมปาดัวร์เป็นปลาในตระกูลปลาหมอสี (Cichlidae) มีถิ่นกำเนิดในลุ่มแม่น้ำอะเมซอนในทวีปอเมริกาใต้ ชอบอาศัยอยู่ตามบริเวณลุ่มน้ำลำธารที่มีกระแสน้ำไหลผ่านเอื่อยๆ และมีระดับความลึกของน้ำไม่มากนัก มักหลบอาศัยอยู่ตามรากไม้น้ำหรือใต้พุ่มไม้น้ำที่มีลักษณะรกทึบจนแสงแดดแทบส่องไม่ถึง ปลาชนิดนี้จัดได้ว่ามีความทนต่อสภาพน้ำต่างๆ ได้ดีพอสมควร ลักษณะรูปร่างของปลาปอมปาดัวร์จะกลมคล้ายจาน ปากเล็ก มีการเคลื่อนไหวเนิบนาบ อ่อนช้อย ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 15-20 ซม. หรือประมาณ 6-8 นิ้ว มีลวดลายและสีสันเข้มข้นใกล้เคียงกับปลาทะเล ดูสวยงามมาก จึงเป็นที่นิยมนำมาเลี้ยงเป็นปลาตู้ไว้เพื่อความสวยงาม จนได้รับฉายาว่า "ราชินีแห่งปลาตู้" ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันในวงการตลาดปลาสวยงาม และจัดเป็นปลาราคาแพง  หากจะพูดถึงสายพันธุ์ของปอมปาดัวร์ที่อยู่ในความนิยมในปัจจุบันมีหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นพันธุ์สีเดียว (Solid color) อย่างพวกบลูไดมอนด์, พันธุ์สีฟ้าตาแดง, พันธุ์สโนว์ไวท์ หรือปอมปาดัวร์ขาว, สีอื่นๆ อย่างเรดเทอร์คอร์ยส์, เรดแอนด์ไวท์ (Red & White) ฯลฯ แต่กระแสที่มาแรงตอนนี้คงหนีไม่พ้นปลาจุดต่างๆ ซึ่งมีต้นสายมาจากการพัฒนาปอมปาดัวร์เขียวอย่างพวกเสน็คสกิน ซึ่งมีจุดเล็กๆ ถี่ละเอียดกระจายอยู่ทั่วลำตัว แต่เดี๋ยวนี้ได้พัฒนาจนกระทั่งเป็นจุดกลมใหม่ สวยงามกว่าที่เห็นในอดีตไปอีกแบบหนึ่ง บางตัวก็มีปรากฏให้เห็นเป็นวงแหวนคล้ายเสือดาว  ซึ่งพันธุ์ต่างๆ นี้ล้วนถูกพัฒนามาจากบรรพบุรุษสายพันธุ์ "รอยัลบลู" (Royal Blue) และ "รอยัลกรีน" (Royal Green) ต้นกำเนิดของปอมปาดัวร์ที่เพาะเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบั ทั้งนี้ ในยุคเริ่มต้นของการพัฒนาสายพันธุ์ ปอมปาดัวร์ห้าสีและปอมปาดัวร์เจ็ดสี นับเป็นชนิดที่มีสีสันสวยงามที่สุด เป็นปลาราคาแพงที่เพิ่งเข้ามาในตลาดปลาสวยงามบ้านเรา โดยผ่านการสั่งจากต่างประเทศ การเลี้ยงดูเรียกว่าต้องเลี้ยงแบบประคบประหงมพอสมควร มิเช่นนั้นแล้วปลาจะตื่นตกใจและตายในที่สุด บุคคลกลุ่มสำคัญที่เลี้ยงปลาเหล่านี้คือ ชาวไทยเชื้อสายจีนที่มีฐานะดี ด้วยเหตุนี้เองที่ทำให้ปอมปาดัวร์ยังไม่แพร่หลายไปในวงกว้างเท่าใดนัก แต่ยังมีกลุ่มที่ชื่นชอบและเห็นว่าเป็นปลาเศรษฐกิจที่ดีตัวหนึ่ง บวกกับโชคดีที่สภาพภูมิอากาศของบ้านเราเหมาะสมกับปลาปอมปาดัวร์ ซึ่งเป็นปลาเขตร้อนมากกว่าประเทศเมืองหนาวอื่นๆ รวมถึงอาหารการกินของปลาที่จะชอบกินตัวอ่อนของแมลงน้ำต่างๆเป็นอาหาร ปัจจัยเหล่านี้นับเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ยังคงมีการเพาะพันธุ์ และในขณะเดียวกันก็พัฒนาสายพันธุ์ให้ดียิ่งๆ ขึ้นไปในเมืองไทย


          สำหรับปลาปอมปาดัวร์ฝีมือไทยทำที่เรียกเสียงฮือฮาจากเวทีโลกได้มากที่สุดคงจะหนีไม่พ้น "ปอมปาดัวร์ฝุ่น" หรือ "ปอมฝุ่น" มีพื้นสีขาวอมฟ้าและมีลายสีส้ม บนพื้นลำตัวมีจุดเล็กๆ สีดำกระจายอยู่ทั่วไป ปอมฝุ่นเป็นปลาที่เกิดจากการผ่าเหล่าของปอมเจ็ดสี ถูกนำไปโชว์ตัวครั้งแรกบนเวทีอะควาราม่า ซึ่งเป็นงานปลาสวยงามที่ใหญ่เป็นลำดับต้นๆ ของโลกเมื่อปี พ.ศ.2534 ปอมปาดัวร์ชนิดนี้เป็นต้นธารที่ทำให้เกิดปอมปาดัวร์สีใหม่ๆ อีกหลายตัว

อุปนิสัย 

          ปอมปาดัวร์เป็นปลาที่มีนิสัยค่อนข้างรักสงบ ไม่เหมาะที่จะปล่อยรวมกันกับปลาอื่น หรือปล่อยเลี้ยงรวมกันในตู้ที่แน่นจนเกินไป ปกติแล้วจะไม่ค่อยก้าวร้าว ซึ่งผิดแผกแตกต่างไปจากปลาชนิดอื่นๆ ในตระกูลเดียวกันที่ส่วนใหญ่แล้วจะมีนิสัยค่อนข้างดุร้าย ก้าวร้าว เว้นเสียแต่ในช่วงฤดูผสมพันธุ์วางไข่เท่านั้น ทั้งนี้ ถ้าอาศัยอยู่ในถิ่นธรรมชาติก็มักหวงอาณาเขตหากิน และมีจ่าฝูงเที่ยวรังแก รังควานปลาตัวอื่นๆ ไปทั่ว โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในตู้เลี้ยงแคบๆ จะไม่ชอบอาศัยอยู่รวมกับปลาตัวอื่นๆ มักจะกัดกันเองอยู่เสมอ

อาหารและการเลี้ยงดู 

          ด้วยความที่มีนิสัยชอบสันโดษ ตู้ที่ใช้เลี้ยงปลาชนิดนี้จึงควรวางในที่เงียบสงบ และต้องดูแลเอาใจใส่อย่างดี โดยเฉพาะเรื่องความสะอาด เนื่องจากปลาปอมปาดัวร์จัดเป็นปลาที่ต้องการความสะอาด มีความอ่อนไหวง่ายมากกับสภาพน้ำและสภาพอากาศจึงจัดเป็นปลาชนิดหนึ่งที่เลี้ยงยากมาก จำเป็นต้องใช้ฮีตเตอร์เพื่อควบคุมอุณหภูมิ 
          สำหรับน้ำที่ใช้เลี้ยงปลาตู้ได้ดีที่สุดแล้วก็คือ ประปาแต่ทว่ามิใช่เป็นน้ำที่ไขออกจากมาใส่ตู้ปลาเลย จำเป็นต้องเตรียมน้ำตามกรรมวิธีเสียก่อนจึงจะปลอดภัยสามารถนำมาใช้เลี้ยงปลาได้ ทั้งนี้ก็เนื่องจากว่าน้ำประปา เป็นน้ำที่มีคลอรีน   อันเป็นสารที่ใช้ฆ่าเชื้อโรคปนอยู่มากเป็นอันตรายต่อปลาทุกชนิด เมื่อจะนำน้ำประปามาใช้เลี้ยงปลาตู้ จึงควรรองน้ำจากก๊อกมาตากแดดปล่อยทิ้งไว้อย่างน้อย 1-3 วัน

          ในเรื่องอาหารของปลาปอมปาดัวร์ ตามธรรมชาติแล้ว ปลาปอมปาดัวร์จะกินอาหารหลายอย่าง เช่น แมลงเล็กๆ ตัวอ่อนของแมลง ลูกน้ำ และพืชต่างๆ แต่สำหรับการเลี้ยงในตู้อาหารที่ใช้เลี้ยง ได้แก่ ลูกน้ำ ไส้เดือน หนอนแดง ไข่กุ้ง ไรแดง เป็นต้น สิ่งสำคัญคือ ปริมาณอาหารและคุณค่าของอาหารที่ได้สัดส่วน จำนวนครั้งในการให้อาหารควรจะเป็นดังนี้  ปลาเล็กแล้ว ให้บ่อยๆ ได้ แต่ไม่ควรเกิน 7 – 8 ครั้งต่อวัน ปลาขนาดกลาง ควรจะให้ 5 – 6 ครั้งต่อวัน ส่วนปลาขนาดใหญ่ ให้อาหาร 3 – 4 ครั้งก็เพียงพอ 

โรคที่มักพบในปลาปอมปาดัวร์

          โดยส่วนมากปลาปอมปาดัวร์มักจะป่วยเป็นอยู่ 2 โรค คือ

          1. โรคตกหมอก อาการของโรคตกหมอก มีเมือกคลุมลำตัว ไม่กินอาหาร รักษาโดย ถ่ายพยาธิ

          2. โรคขี้ขาว อาการของโรคขี้ขาว อุจจาระสีขาว ซีด ไม่ค่อยกินอาหาร รักษาโดย การเติมเกลือ 0.1%